พบฟอสซิลสาหร่ายสีแดง 1,600 ล้านปี ชี้เป็นพืชเก่าแก่ที่สุดในโลก

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์
ซึ่งถ่ายด้วยรังสีเอกซ์ย่านพลังงานสูงจากแหล่งกำเนิดแสงซินโครตรอน เผยให้เห็นโครงสร้างของสาหร่ายสีแดงที่พบได้ทั่วไปนักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งสวีเดน พบว่าฟอสซิลพืชชิ้นหนึ่งที่ได้จากทางตอนกลางของประเทศอินเดีย มีโครงสร้างของสาหร่ายสีแดงอยู่ภายใน

โดยฟอสซิลนี้มีอายุเก่าแก่
ถึง 1,600 ล้านปี นับว่าเป็นฟอสซิลพืช
ที่มีความเก่าแก่มากที่สุด เท่าที่โลกเคยมีการค้นพบมา

มีการเผยแพร่การค้นพบนี้ในวารสาร PLOS Biology โดยระบุว่านักวิจัยพบฟอสซิลพืชที่มีรูปร่างเหมือนเส้นใยฝังอยู่ในหินที่เกิดจากการสะสมของดินตะกอนในน้ำ และพบบางส่วนของคลอโรพลาสต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์พืชที่ช่วยในการสังเคราะห์แสง
ในฟอสซิลนี้ด้วย โดยลักษณะโครงสร้างของฟอสซิลพืชที่พบ ตรงกับสาหร่ายสีแดงในปัจจุบันอย่างมาก
การค้นพบครั้งนี้ทำลายสถิติอายุ
ฟอสซิลพืชที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

ซึ่งเดิมเป็นฟอสซิลสาหร่ายสีแดงที่มีอายุ 1,200 ล้านปี โดยฟอสซิลที่พบใหม่นี้เป็นหลักฐานบ่งชี้ว่า สิ่งมีชีวิตกลุ่มที่เริ่มมีความซับซ้อนอย่างพวกยูคาริโอต (Eukaryote) ซึ่งมีนิวเคลียสและส่วนประกอบอื่น ๆ อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ได้เกิดขึ้นบนโลกและมีวิวัฒนาการมานานกว่าที่เคยเข้าใจกัน

ภาพขยายของสาหร่ายสีแดงจากทะเลบอลติกแม้จะไม่มีสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอหลงเหลือในซากฟอสซิลให้ตรวจสอบยืนยันได้ว่าเป็นสาหร่ายสีแดงจริงหรือไม่ แต่การตรวจสอบลักษณะและคุณสมบัติโดยทั่วไปของฟอสซิลนี้
ชี้ว่าเป็นสาหร่ายสีแดงค่อนข้างแน่นอน โดยนักวิจัยจะต้องค้นหาฟอสซิล
ที่มีลักษณะเดียวกันให้ได้เพิ่มเติม เพื่อยืนยันผลการค้นพบดังกล่าว
ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า สาหร่ายสีแดงนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่ควรจัดประเภทให้อยู่ในอาณาจักรพืชหรือไม่ หรือควรจะจัดให้อยู่ในหมวดหมู่เฉพาะของตนเอง

ส่วนผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายสีแดงที่ใช้บริโภคกันทั่วไปในปัจจุบันนั้น ได้แก่ผงวุ้นและสาหร่ายโนริซึ่งชาวญี่ปุ่นใช้ห่อข้าวปั้นและซูชิ
มีหลักฐานว่าสิ่งมีชีวิตแรกเกิดขึ้นบนโลกเมื่ออย่างน้อยราว 3,500 ล้านปีก่อน
โดยพัฒนาจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
จนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอตหลายเซลล์เช่น พืช รา และสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งมนุษย์ด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

RIP technology rules. Global Revolution TV.

เราพร้อม "เทเลพอร์ต" กันแล้วหรือยัง

ดาวเทียมจีนส่งข้อมูลด้วยควอนตัมได้ไกล 1,200 กม.